ศาสตร์ลายนิ้วมือ

ศาสตร์การวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือ (Dermatoglyphics Analysis) คือ การศึกษาลายนิ้วมือ ลายฝ่ามือ และลายฝ่าเท้า ลายเส้นนิ้วมือ เริ่มปรากฏตั้งแต่อายุ 13 สัปดาห์ในครรภ์ และสมบูรณ์ประมาณสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 21 จากนั้นจะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเลยตลอดชีวิต เส้นลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

Dermatoglyphics Analysis เป็นการคำนวณจากการวัดลายเส้นนิ้วมือที่ไม่สามารถมีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขได้โดยการใช้คอมพิวเตอร์ การเปรียบเทียบทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ทางสถิติ (Quantitative Analysis) ผลที่ได้จึงเป็นรูปธรรม ไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง และยังคงอยู่เหมือนเดิมแม้เด็กจะเติบโตขึ้น ซึ่งโดยหลักการแตกต่างจากการดูหมอดู ซึ่งอ่านจากลายฝ่ามือ

นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์ ได้ใช้วิชาพันธุศาสตร์(Genetics), ชีววิทยาการพัฒนาตัวอ่อน (Embryology), ศาสตร์ลายเส้นนิ้วมือ (Dermatoglyphics), วิชามานุษยวิทยา (Anthropology) และกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) มาใช้เป็นพื้นฐานในการสังเกตวิเคราะห์ และสรุปผลการศึกษาวิจัยทางด้าน Dermatoglyphics ดังนั้น การประเมินทาง Dermatoglyphics Analysis จึงเป็นวิชาแขนงใหม่ที่ใช้การวิเคราะห์ และการประเมินโดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และการแพทย์สมัยใหม่

Dermatoglyphics Assessment System เป็นการผสมผสานของ Fingerprint Chip Scanner, Communication Skills, Computer Database และผลิตภัณฑ์ High Technology เพื่อให้ได้ผลการคำนวณที่แม่นยำ ผ่านการคำนวณตัวเลข สถิติ การแบ่งประเภท และ 3D Image Recognition ในฐานข้อมูลระบบโครงข่าย Bases on Multi Level Integration คือ The Fingerprint Recognition System, Far-End Analysis Validation System, และ Far-End Data Base Management System. The Front Stage System ถูก Set สำหรับการเก็บรวบรวม Fingerprints, Personal Data และอื่นๆ The Back Stage System ถูก Set เพื่อ Provide Validation Report และ Data Checking to The Front Stage System เพื่อที่การติดตามลูกค้า และการให้คำปรึกษาต่อไป

Dr. Howard Gardner เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป ซึ่ง Dr. Howard Gardner ได้แบ่งความฉลาดออกเป็น 8 ด้าน คือ

  1. ความฉลาดทางด้านการพูดและภาษา (Verbal-Linguistic Intelligence) ความสามารถในการเข้าใจความหมายและการใช้ภาษา การพูดและการเขียน การเรียนรู้ภาษา การใช้ภาษาสื่อสารให้ได้ผลตามเป้าหมาย สื่ออารมณ์ความรู้สึกให้คนอื่นเข้าใจได้ดี ศักยภาพด้านนี้พบสูงใน นักเขียน ทนาย นักปรัชญา นักหนังสือพิมพ์ นักการเมือง และครูอาจารย์
  2. ความฉลาดทางด้านตรรกะ และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematic Intelligence) ความสามารถทางด้านตรรกะ การใช้เหตุผล ภาพศิลป์ที่มุ่งแสดงความหมายและตัวเลข คณิตศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ ในเชิงวิทยาศาสตร์ การสืบสวน และความสามารถในการคิดคำนวณที่ซับซ้อน ศักยภาพด้านนี้พบสูงในนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ วิศวกร แพทย์ และนักเศรษฐศาสตร์
  3. ความฉลาดทางด้านมิติสัมพันธ์และการมองเห็น (Visual-Spatial Intelligence)ความสามารถในการมองเห็นและเข้าใจ ด้านมิติสัมพันธ์ และการสร้างภาพในจินตนาการ และนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน ประสาทสัมผัสดีทางด้านทิศทาง และเก่งในการทำงานที่มีการประสานระหว่างมือ และตา ศักยภาพด้านนี้พบสูงใน ศิลปิน จิตรกร ประติมากร ดีไซเนอร์ สถาปนิก วิศวกร
  4. ความฉลาดทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (Bodily-Kinesthetic Intelligence)ความสามารถในการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวทำกิจกรรมทางกายอย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้ได้ดีโดยการเคลื่อนไหวไปมาชอบการแสดง การละคร และยังเก่งในเรื่องการสร้างสิ่งของ เรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านการลงมือทำ มีการเรียนรู้ผ่านทางกาย ศักยภาพด้านนี้พบสูงในนักกีฬา นักเต้น นักแสดง ศัลยแพทย์ นักก่อสร้าง และทหาร
  5. ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical-Rhythmic Intelligence)ความสามารถในการเข้าใจ และสร้างสรรค์ดนตรี เข้าใจจังหวะ และมักจะอ่อนไหวต่อเสียง จังหวะสูงต่ำ และจังหวะดนตรี ศักยภาพด้านนี้พบสูงในนักแต่งเพลง นักดนตรี นักเต้น นักสร้างเครื่องดนตรี นักร้อง วาทยกร นักจัดรายการวิทยุ
  6. ความฉลาดในด้านมนุษยสัมพันธ์(Interpersonal-Social Intelligence)ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น สามารถจูงใจผู้อื่น สามารถทำงานเป็นทีม สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นได้ทั้งผู้นำ และผู้ตาม ศักยภาพด้านนี้พบสูงในนักการเมือง ผู้นำทางศาสนา นักสังคมสงเคราะห์ นักบริหารจัดการ ครู นักการศึกษา นักขาย นักโฆษณา
  7. ความฉลาดด้านการรู้ภายในตนเอง (Intrapersonal intelligence)ความสามารถในการใคร่ครวญ และสะท้อนตัวเอง เป็นพวกครุ่นคิดภายในตน ชอบทำงานคนเดียว สามารถเข้าใจอารมณ์ เป้าหมาย และแรงดลใจของตนเอง มักมีการเชื่อมโยงของการแสวงหาหรือค้นหาบนพื้นฐานความคิดของตัวเอง เข้าอกเข้าใจความรู้สึกภายในของผู้คน ศักยภาพด้านนี้พบสูงใน นักปรัชญา นักจิตวิทยา นักศาสนศาสตร์ นักเขียน ผู้ให้คำปรึกษา จิตแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์
  8. ความฉลาดทางด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalistic-Physical World Intelligence)ความสามารถในการเรียนรู้เรื่องธรรมชาติ พืช สัตว์ ธรณีวิทยา สิ่งแวดล้อมธรรมชาติรอบตัว สามารถรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในธรรมชาติรอบตัว เก่งในการจดจำและแยกประเภทชนิดต่างๆ ศักยภาพด้านนี้พบสูงใน นักวิทยาศาสตร์ นักธรรมชาติ นักอนุรักษ์นิยม นักจัดแต่งสวน เกษตรกร
  • สมองซีกขวา ควบคุมการทำงานของร่างกายด้านซ้าย และการแสดงออกทางด้านอารมณ์
  • สมองซีกซ้าย ควบคุมการทำงานของร่ายกายด้านขวา และการคิดประมวลผลในด้านของเหตุผล
นิ้ว ซ้าย ขวา
นิ้วหัวแม่มือ มนุษยสัมพันธ์, เป้าหมาย บริหารจัดการตนเอง
นิ้วชี้ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คำนวณ
นิ้วกลาง แสดงความรู้สึกผ่านการเคลื่อนไหวร่างกาย, ชื่นชมในงานศิลปะ การเคลื่อนไหว ควบคุมร่างกาย
นิ้วนาง ความรู้สึกจากการฟัง, ชื่นชมดนตรี ทำความเข้าใจจากการฟัง, การใช้ภาษา
นิ้วก้อย ความรู้สึกจากมอง, ชื่นชมในภาพศิลปะ ทำความเข้าใจจากการมอง, สังเกต
ระยะเวลาในการเกิดลายนิ้วมือ
  • ลายเส้นผิวหนังเป็นรูปร่างชัดเจนสมบูรณ์
    (ทารกในครรภ์ 21 สัปดาห์)
  • ส่วนต่างๆ ของสมองเริ่มพัฒนา รวมทั้งเยื่อหุ้มสมอง
    (ทารกในครรภ์ 14 สัปดาห์)
  • ลายเส้นผิวหนังเริ่มพัฒนา
    (ทารกในครรภ์ 13 สัปดาห์)
  • ฝ่ามือและฝ่าเท้าเริ่มเป็นรูปร่างชัดเจน
    (ทารกในครรภ์ 10-12 สัปดาห์)
  • ฝ่ามือและฝ่าเท้าเริ่มเป็นรูปร่าง
    (ทารกในครรภ์ 6-8 สัปดาห์)
  • สัปดาห์ที่ 6
  • สัปดาห์ที่ 9
  • สัปดาห์ที่ 12
  • สัปดาห์ที่ 15
  • สัปดาห์ที่ 18
  • สัปดาห์ที่ 21

รูปแบบลายเส้นพื้นฐาน มีการแบ่งรูปแบบลายเส้นพื้นฐานไว้หลากหลาย แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุด แบ่งได้เป็น 3 แบบหลักๆ ได้แก่ ก้นหอย (Whorl) มัดหวาย (Loop) และโค้ง (Arch)

  1. ก้นหอย (Whorl)เป็นรูปแบบลายนิ้วมือที่พบประมาณ 30% ของรูปแบบลายนิ้วมือทุกแบบ มีลักษณะเป็นลายเส้นวนเวียนเป็นรูปก้นหอยวนจากด้านในกระจายสู่ด้านนอก ขณะเดียวกันมีจุดสามเหลี่ยม 2 จุด แบ่งออกเป็นลายก้นหอย (Concentric Whorl, Spiral Whorl) ตานกยูง (Peacock’s Eye) ลายก้นหอยถุง (Press Whorl) ลายก้นหอยแตกใน (Imploding Whorl) ลายก้นหอยคู่ (Composite Whorl) ลายมัดหวายคู่ (Double Loop) และลายผสม (Variant) จำนวนเส้นลายนิ้วมือ (Ridge Count) จะมี 2 จำนวน คือ จำนวนเส้นจากจุดศูนย์กลางถึงจุดสามเหลี่ยมทั้ง 2 จุด
  2. มัดหวาย (Loop) เป็นรูปแบบลายนิ้วมือที่พบมาก ประมาณ 65% ของแบบแผนทั้งหมด มีลักษณะเป็นรูปเกือกม้าที่มีปลายเส้นเกือกม้าปัดออกไปทางใดทางหนึ่ง (นิ้วก้อย หรือนิ้วหัวแม่มือของมือนั้น) ถ้าปลายเส้นเกือกม้าปัดไปทางนิ้วก้อย เรียกว่า มัดหวายปัดก้อย (Ulnar Loop) ถ้าปัดไปทางนิ้วหัวแม่มือ เรียกว่า มัดหวายปัดโป้ง (Radial Loop) และลายมัดหวายลงล่าง (Falling Loop) ลายนิ้วมือแบบมัดหวายทั้งสามแบบจะมีจุดสามเหลี่ยมหนึ่งแห่งและจุดศูนย์กลางหนึ่งจุด จำนวนเส้นลายนิ้วมือ (Ridge Count) จึงมีหนึ่งจำนวน คือจำนวนเส้นจากจุดศูนย์กลางถึงจุดสามเหลี่ยม
  3. โค้ง (Arch) เป็นรูปแบบลายนิ้วมือที่มีลักษณะลายเส้นตั้งต้นจากขอบเล็บข้างหนึ่งไหลออกไปอีกข้างหนึ่ง โดยไม่มีจุดศูนย์กลาง ไม่มีจุดสามเหลี่ยมรูปแบบโค้งแบ่งออกเป็น ลายโค้งแบบง่าย (Simple Arch) มีลักษณะของเส้นโค้งไม่สูงชัน ซึ่งต่างจาก ลายโค้งแบบวนรอบ (Triad Arch) และลายโค้งแบบกระโจม (Tented Arch) ที่มีเส้นโค้งตรงกลางหนึ่งเส้น หรือมากกว่าหนึ่งเส้นพุ่งขึ้นพบกันตรงกลางเป็นมุมแหลม หรือมุมฉากลายนิ้วมือแบบโค้งจึงไม่มีสามเหลี่ยม และไม่มีจุดศูนย์กลาง ดังนั้นจำนวนเส้นลายนิ้วมือจึงเป็นศูนย์
Dermatoglyphics Analysis ทำให้เราสามารถเข้าใจในสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • หน้าที่ของสมองในส่วนต่างๆ
  • ความสามารถในการเรียนรู้และการกระทำ
  • ช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่มีความได้เปรียบในประสาทสัมผัสด้านต่างๆ เช่น ด้านการมองเห็น ด้านการได้ยิน
  • วิธีการเรียนรู้ และการสื่อสาร
  • ศักยภาพแฝงของความฉลาดที่ได้มาภายหลัง 8 ประการ (8 Acquired Intelligences)
  • ลักษณะของการเรียนรู้ในแต่ละ Style และ Type
  • การยอมรับในความแตกต่างของเด็กแต่ละคน, ปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ปกครอง
  • เข้าใจในหน้าที่ของสมองที่มีแต่กำเนิด และก้าวข้ามขีดจำกัดของการเรียนรู้
  • เสริมสร้างความสามารถพิเศษจากการรู้ลักษณะธรรมชาติของเด็ก และวิธีที่ดีที่สุดของการเรียนรู้
  • แนะนำพ่อแม่เพื่อการส่งเสริมสนับสนุนเด็กอย่างเหมาะสม ตามความได้เปรียบ หรือเสียเปรียบที่มีมาแต่กำเนิดของเด็ก
  • ควบคุมจุดอ่อนของตัวเอง และเสริมทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  • การปรับปรุงตัวเองในชีวิตประจำวัน และการทำงาน
  • ปรับปรุงทักษะภายในตัวเองในทุกๆ ด้านของความสัมพันธ์ (Intrapersonal Skills)
  • การงาน อาชีพที่เหมาะสม สาขาวิชาที่เหมาะสม