คำถามที่พบบ่อย

คำถามทั่วไป

สาเหตุที่ทำให้เด็กไม่สนใจการเรียน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เนื่องจากเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะเฉพาะตัวแต่กำเนิดที่แตกต่างกันออกไป ทั้งด้านความคิด, วิธีการเรียนรู้, พฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างเรียน เช่น เด็กบางคนจะชอบเรียนกับคุณครูที่ใจดี ไม่เข้มงวดกับตนเอง, เด็กบางคนอาจจะชอบเรียนกับคุณครูที่สอนด้วยการพูดอธิบายให้นักเรียนฟัง แต่บางคนอาจจะชอบอ่านจากเอกสารการเรียนมากกว่า, เด็กบางคนจะนั่งเรียนอยู่นิ่งๆเฉยๆไม่ได้, เด็กบางคนอาจจะเหม่อลอย สนใจสิ่งรอบข้าง หรือชอบพูดคุยกับเพื่อนระหว่างเรียน ฯลฯ ซึ่งการวิเคราะห์ได้จากลายเส้นนิ้วมือ สามารถวิเคราะห์ลักษณะเหล่านี้ได้ และยังสามารถวิเคราะห์ถึงวิธีการที่เหมาะสมที่จะใช้ในการเรียนรู้ของเด็ก และสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่จะมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก

เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนสามารถเรียนหลายๆวิชาพร้อมๆกันได้อย่างรวดเร็ว เด็กบางคนควรให้การเรียนแบบเฉพาะด้าน และให้เวลาในการเรียนรู้ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนยังมีความสามารถในการเรียนรู้ผ่านช่องทางที่แตกต่างกัน บางคนเรียนรู้ได้ดีผ่านการอ่าน บางคนเรียนรู้ได้ดีผ่านการฟังบรรยาย หรือสอนแบบบอกเล่า เด็กบางคนเรียนรู้ได้ดีผ่านการสัมผัส ทดลองปฏิบัติจริง ซึ่งหากการเรียนการสอน ทั้งในชั้นเรียนปกติ หรือว่าการเรียนกวดวิชา เป็นการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะกับเด็ก ก็จะมีผลต่อการเรียนรู้ และความเข้าใจของเด็กเป็นอย่างมาก ซึ่งการวิเคราะห์ลายนิ้วมือจะ ช่วยให้ผู้ปกครองทราบถึงความสามารถ และความฉับไวในการเรียนรู้ ตลอดจนช่องทางที่เหมาะสมในการเรียนรู้ ซึ่งหากผู้ปกครองช่วยให้เด็กได้รับการเรียนการสอนที่เหมาะสม ก็จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ เข้าใจได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และมีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น

เนื่องจากเด็กแต่ละคนสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และจดจำได้ผ่านช่องทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เด็กบางคนสามารถจดจำ และเข้าใจผ่านการอ่านได้ดี เด็กบางคนเพียงแค่ฟังที่อาจารย์บรรยายก็สามารถเข้าใจ และจดจำได้ดี แต่เด็กบางคนหากได้ทำกิจกรรมการทดลอง หรือมีการได้เคลื่อนไหวจึงจะทำให้เรียนรู้ และจดจำได้ดี ซึ่งการวิเคราะห์ลายนิ้วมือจะ ช่วยให้ผู้ปกครองทราบถึงช่องทางที่เหมาะสมในการเรียนรู้ ซึ่งหากผู้ปกครองช่วยให้เด็กได้รับการเรียนการสอนที่เหมาะสม ก็จะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และจดจำได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เนื่องจากเด็กแต่ละคน จะมีลักษณะเฉพาะตัวแต่กำเนิดที่ไม่เหมือนใคร รวมทั้งอาจได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง เช่น เด็กบางคนอาจจะเป็นเด็กเรียบร้อย ผู้ใหญ่พูดก็จะเชื่อฟัง หรือผู้ใหญ่ทำอะไรก็มักจะทำตาม แต่เด็กบางคนอาจจะมีความคิดเป็นของตัวเองเป็นหลัก คิดว่าความคิดของตนเองถูกต้องเสมอ หรือเด็กบางคนอาจจะมีความคิดที่แปลก แตกต่างจากคนอื่นๆ หรือเด็กบางคนอาจจะไม่ใส่ใจในคำพูด คำแนะนำ คำสั่งสอนที่ได้ฟัง ลักษณะเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดการโต้แย้งขึ้นมาได้ ซึ่งการวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือ สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริง และวิธีการที่เหมาะสม ที่จะสอนเด็กและลดการโต้แย้งของเด็กลงได้

เนื่องจากลักษณะเฉพาะตัวแต่กำเนิดของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งเด็กบางคนอาจมีความกระตือรือร้นสูง มีลักษณะคึกคัก active ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เด็กเหล่านี้ไม่ค่อยอยู่นิ่ง ไม่สามารถบังคับให้อยู่นิ่งเฉยๆเป็นเวลานานได้ อาจเกิดการกระดิกนิ้ว เคาะมือ เคาะโต๊ะ สั่นขา หมุนปากกา พูดคุยและ ขีดเส้นขยุกขยิก ฯลฯ ซึ่งลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะเฉพาะตัวที่มีมาแต่กำเนิดของเด็ก ไม่ได้แสดงว่าเด็กไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งการไม่อยู่นิ่งของเขา อาจเป็นการทำให้เขามีสมาธิมากขึ้นในระหว่างการเรียนรู้ได้ ซึ่งการวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือ สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริง และวิธีการที่เหมาะสม ที่จะนำมาใช้ปรับใช้ในการเรียนการสอนของเด็กเหล่านี้ได้

Dr. Howard Gardner ผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ทางด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้เสนอแนวคิด ที่ว่า “สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหน แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป” ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า เด็กแต่ละคนจะมีความถนัดที่แตกต่างกัน ซึ่งเด็กที่ไม่ถนัดในการตอบโจทย์คณิตศาสตร์ หรือปัญหาคำถามที่เป็นเหตุและผล อาจจะถนัดในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือการเล่นกีฬา หรือดนตรีมากกว่าได้ โดยผู้ปกครองสามารถอาศัยสิ่งที่เด็กถนัด มาประยุกต์ใช้ในการกระตุ้น หรือฝึกฝน ให้เด็กเพิ่มความสามารถในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ คำถามที่เป็นเหตุและผลได้ ซึ่งการวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือ สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเด็กแต่ละคน มีความถนัดในด้านไหนเป็นพิเศษ เพื่อที่จะนำความถนัดในด้านนั้น มาช่วยในการฝึกฝนทางด้านคณิตศาสตร์และการคิดเป็นเหตุและผล

เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวแต่กำเนิดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเด็กบางคนจะมีลักษณะที่พิเศษ ซึ่ง สภาพแวดล้อมรอบข้างจะมีอิทธิพลต่อเด็กได้มาก เช่นผู้ปกครองงานยุ่งและไม่ได้พูดคุยกับเด็กเป็นประจำ หรือสภาพแวดล้อมที่เด็กเติบโตมา ฯลฯ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริง สามารถวิเคราะห์ได้จากการวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือ รวมทั้งยังสามารถวิเคราะห์ถึงวิธีการที่เหมาะสม ที่จะนำมาใช้ในการกระตุ้นเด็กเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เด็กแต่ละคนจะมีศักยภาพที่มีมาแต่กำเนิดหลายๆด้านที่แตกต่างกันออกไป ผสมผสานออกมาเป็นความสามารถในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเด็กที่มีปัญหาด้านการอ่าน และการสะกดคำ ไม่ได้ถือว่าเป็นเด็กที่ไม่ฉลาด ด้อยความสามารถ เพียงแต่เขาอาจจะใช้วิธีการเรียนรู้หรือวิธีการกระตู้ที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง ซึ่งผู้ปกครองอาจใช้ความถนัดหรือความสนใจในด้านอื่นๆของเด็ก มากระตุ้นฝึกฝนทักษะในการอ่าน และการสะกดคำของเด็กได้ เช่น เด็กบางคนชอบเสียงเพลง เสียงดนตรี ก็อาจจะเปิดเพลงคลอไปในระหว่างเรียนรู้ หรืออาจจะฝึกสอนให้อ่าน สะกดคำโดยประยุกต์ใช้เสียงดนตรีเข้ามาเป็นจังหวะในการอ่าน หรือเด็กอาจจะชอบอะไรที่มีสีสัน ดึงดูดตา ก็อาจจะใช้สื่อการสอนที่น่าสนใจ เป็นตัวการ์ตูน หรือมีสีสันสวยงาม มาเป็นการฝึกฝนทักษะการอ่านและการสะกดคำในเบื้องต้นได้ ฯลฯ ซึ่งสาเหตุที่แท้จริง และวิธีการที่เหมาะสม จากการวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือสามารถรู้ได้ว่าความได้เปรียบและลักษณะเฉพาะ ตัวที่มีมาแต่กำเนิดของเด็ก จนกระทั่งถึงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในการเรียนรู้ และใช้จุดเด่นส่งเสริมจุดด้อย

เวลาเรียน อาจเกิดได้หลายสาเหตุ อาจจะเกิดจากการที่เขาไม่เข้าใจในสิ่งที่เรียน ทำให้เกิดความสับสน การเรียนตามเพื่อนในชั้นเรียนไม่ทัน ทำให้เสียความมั่นใจ และซึมเศร้าไม่อยากเรียนในที่สุด หรืออาจเกิดจากการที่เขาจำเป็นต้องเรียน หรือถูกบังคับให้เรียนในสิ่งที่เขาไม่สนใจ หรือไม่ชอบ หรืออาจจะไม่ชอบวิธีการสอนของอาจารย์คนนั้น ปัญหาเหล่านี้ก็จะใช้วิธีการแก้ไขที่แตกต่างกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ จะช่วยให้ผู้ปกครองทราบถึงที่มาที่ไปของอุปสรรคในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน ทำให้ผู้ปกครองสามารถช่วยแก้ไข และช่วยสร้างความมั่นใจในการเรียนให้กับเด็กได้ และช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่ชอบ และถนัด

เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีศักยภาพแต่กำเนิดที่แตกต่างกัน มีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งเด็กบางคนอาจเกิดอาการใจลอย เหม่อลอยในระหว่างทำการบ้านหรือทำการสอบได้ง่าย หรือเด็กบางคนอาจมีความคิดไปในเรื่องอื่นที่เขาสนใจ หรือเด็กบางคนอาจมีความคิด หรือเนื้อหาที่เรียนรู้อยู่ในหัวมากมาย แต่ไม่สามารถเรียบเรียงออกมาตอบในการบ้านหรือในข้อสอบได้ หรือเด็กบางคนอาจมีความประมาท สะเพร่า ไม่เห็นข้อผิดพลาดของตัวเองที่ตอบในการบ้านหรือข้อสอบได้ ฯลฯ ทำให้คะแนนออกมาไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งการวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือ สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่มีความเป็นไปได้สูงที่สุดที่ก่อให้เกิดอาการ เหล่านี้ รวมทั้งวิธีการแก้ไข แนะนำ เพื่อลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยลงได้ ทำให้คะแนนออกมาดีขึ้น

เนื่องจากเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นวิธีการสอนและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน ออกไป ยกตัวอย่างเช่น ในการสอน เด็กบางคนถ้าใช้วิธีการสอนโดยการอธิบายออกมาเป็นคำพูดให้ฟังจะเหมาะสมที่สุด แต่บางคนต้องใช้เอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่เห็นได้ชัด หรือบางคนจะต้องให้ลงมือทดลองกับเหตุการณ์จริง จึงจะเรียนรู้ได้ดี หรือในวิธีการสื่อสาร เด็กบางคนจะต้องพูดด้วยดีๆ ไม่เข้มงวดบังคับเขาแล้วเขาจะเป็นเด็กดี เชื่อฟัง แต่เด็กบางคนอาจจะต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง จึงจะทำตาม หรือเด็กบางคน บอกให้ทำอะไรก็ทำ แต่ถ้าไม่บอกก็จะไม่สามารถทำอะไรเองได้เลย ฯลฯ ซึ่งในความเป็นจริง ผู้ปกครองอาจจะทราบถึงวิธีการสอน และการสื่อสารที่เหมาะสมที่สุดกับเด็กได้โดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ตั้งแต่เล็ก แต่อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะทราบ แต่การวิเคราะห์ลายเส้นนิ้วมือ สามารถวิเคราะห์ถึงวิธีการสอน และการสื่อสารที่เหมาะสมที่สุดกับเด็กได้เพียงการสแกนเพียง 10-15 นาที และรอผลการวิเคราะห์ในเวลาไม่เกิน 2-3 วันเท่านั้น

คำถามเกี่ยวกับการวิเคราะห์ศาสตร์ลายเส้นนิ้วมือ

Dermatoglyphics คือ การศึกษาลายนิ้วมือ ลายฝ่ามือ และลายฝ่าเท้า ลายเส้นผิวหนัง เริ่มปรากฏตั้งแต่อายุ 13 สัปดาห์ในครรภ์ และสมบูรณ์ประมาณสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 21 จากนั้นจะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเลยตลอดชีวิต เส้นลายผิวหนังของแต่ละบุคคลมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบของ Dermatoglyphics ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้วินิจฉัยเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง และเริ่มขยายสู่วงการการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางในฐานะวิชาวิทยาศาสตร์แขนง หนึ่ง', 'Dermatoglyphics คือ การศึกษาลายนิ้วมือ ลายฝ่ามือ และลายฝ่าเท้า ลายเส้นผิวหนัง เริ่มปรากฏตั้งแต่อายุ 13 สัปดาห์ในครรภ์ และสมบูรณ์ประมาณสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 21 จากนั้นจะคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเลยตลอดชีวิต เส้นลายผิวหนังของแต่ละบุคคลมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบของ Dermatoglyphics ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้วินิจฉัยเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง และเริ่มขยายสู่วงการการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางในฐานะวิชาวิทยาศาสตร์แขนง หนึ่ง

นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์ ได้ใช้วิชาพันธุศาสตร์ (Genetics), ชีววิทยาการพัฒนาตัวอ่อน (Embryology), ศาสตร์ลายเส้นนิ้วมือ (Dermatoglyphics), วิชามานุษยวิทยา (Anthropology) และกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) มาใช้เป็นพื้นฐานในการสังเกต วิเคราะห์ และสรุปผลการศึกษาวิจัยทางด้าน Dermatoglyphics ดังนั้นการประเมินทาง Dermatoglyphics Assessment จึงเป็นวิชาแขนงใหม่ที่ใช้การวิเคราะห์ และการประเมิน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และการแพทย์สมัยใหม่

  • ความได้เปรียบของหน้าที่สมองในส่วนต่างๆ
  • เสริมความแข็งแกร่งของความสามารถในการเรียนรู้
  • ช่วยประเมินรูปแบบการเรียนรู้ด้านการมองเห็น ด้านการฟัง และด้านการได้ยิน
  • ช่วยประเมินลักษณะการเรียนรู้ทั้ง 4 แบบ คือ ลักษณะรู้ตนเอง (Cognitive Style), ลักษณะการเลียนแบบ (Imitative style), ลักษณะความคิดทวนกระแส (Reverse Thinking style) และลักษณะแบบเปิด (Open Style)
  • ช่วยประเมินศักยภาพ (ความฉลาด) รอบด้าน, พหุปัญญา ทั้ง 8 ด้าน (The 8 Multiple Intelligences)

Dermatoglyphics Analysis เป็นการคำนวนจากการวัดลายเส้นผิวหนังที่ไม่สามารถมีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขได้ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ การเปรียบเทียบทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์หาจำนวน (Quantitative Analysis) ผลที่ได้จึงเป็นรูปธรรม ไม่มีอคติ หรือลำเอียง และยังคงอยู่เหมือนเดิมแม้เด็กจะเติบโตขึ้น ซึ่งโดยหลักการพื้นฐานนี้แตกต่างจากการดูหมอดูซึ่งอ่านจากลายฝ่ามือ

Dermatoglyphics Analysis เป็นเครื่องมือให้พ่อแม่และครูรู้ถึงความได้เปรียบในด้านต่างๆในสมองของเด็ก และวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนของเด็กแต่ละคนเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้จัดลำดับความสามารถของเด็ก

  1. ทางด้านการศึกษา
    • ใช้ประเมินความฉลาดที่มีมาแต่กำเนิด
    • การสื่อสารและการศึกษา
    • การคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
    • การสร้างการเรียนรู้ของบุคคล
    • ค้นหาพรสวรรค์
    • แนะนำการศึกษาต่อ
    • หาวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสม
  2. ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource)
    • การประเมินเพื่อการรับสมัครงาน
    • การประเมินตำแหน่งงานที่เหมาะสม
    • หาแนวทางการฝึกอบรมพนักงาน
    • ค้นหาศักยภาพแฝงของพนักงาน
    • การสร้างผู้นำ
    • ปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร
    • ทรัพยากรบุคคล
    • การขาย และการตลาด